วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556

เห็ด (Mushroom)


ที่มาภาพ : http://www.thekitchn.com/mycological-society-of-san-fra-64386
เห็ด เป็นกลุ่มของเชื้อราที่มีวิวัฒนาการสูงกว่าราชนิดอื่นๆ ไม่สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงเองได้เนื่องจากไม่มีคลอโรฟิลล์ เจริญเติบโตบนพื้นดิน ขอนไม้ ซากพืช มูลสัตว์ ฯลฯ ชอบอินทรียวัตถุสูง เป็นพวกที่ต้องการออกซิเจนมาก และอุณหภูมิปานกลาง(ประมาณ 25-40 องซาเซลเซียส) ชอบที่ที่มีความชื้นในดินสูงแต่ไม่ชอบน้ำขัง วงจรชีวิตของเห็ดทุกชนิดจะมีลักษณะคล้ายกัน เริ่มจากการที่สปอร์ปลิวไปตามที่ต่างๆ หากไปตกในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมจะมีการเจริญเติบโตเป็นลักษณะของเส้นใย กลุ่มของเส้นใยจะจับตัวกันเป็นกลุ่มก้อนให้เราเห็นเป็นดอกเห็ด  เห็ดบางชนิดสามารถเลี้ยงเส้นใยจนเกิดดอกเห็ดได้บนอาหารวุ้นในหลอดทดลอง เช่น เห็ดนางรม แต่บางชนิดแม้จะทดลองกันมากมายเพียงใด ก็ไม่สามารถทำให้เกิดดอกเห็ดได้ เช่น เห็ดโคน เห็ดอานม้า

ส่วนประกอบต่างๆ ของเห็ด
ส่วนต่างๆ ของเห็ด
ที่มาภาพ : http://ridge.icu.ac.jp , mushroom life cycle

     1. ดอกเห็ด (Fruiting body) รูปร่างของเห็ดแบ่งเป็น
     - แผ่นเยื่อนุ่มแบบวุ้น เช่น เห็ดหูหนู
     - ทรงร่ม เช่น เห็ดฟาง เห็ดโคน
     - เป็นก้อนค่อนข้างกลม เช่น เห็ดจาวมะพร้าว เห็ดเผาะหรือเห็ดถอบ

     2.หมวกเห็ด (Cap)  เป็นส่วนประกอบปลายสุดของดอกที่เจริญเติบโตขึ้นไปในอากาศ เมื่อดอกบานเต็มที่จะกางออก มีลักษณะรูปทรงเหมือนร่มกาง ขอบงุ้มลงหรือแบนราบ หรือกลางหมวกเว้าลงเป็นแอ่ง มีรูปเหมือนกรวยปากกว้าง ผิวหมวก เห็ดด้านบนอาจจะเรียบ ขรุขระ มีเกล็ด (scales) หรือมีขน แตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิดของเห็ด เนื้อของดอกเห็ดมีความหนาบางต่างกัน อาจเหนียว หรือฉีกขาดได้ง่าย สีของเนื้อเห็ดภายในและภายนอก อาจเป็นสีเดียวหรือแตกต่างกัน
    
          3.ครีบ (Gills)ด้านล่างของหมวกเห็ดมีครีบหรือซี่ เรียงเป็นรัศมีรอบก้านดอกห้อยแขวนลงมาจากเนื้อของหมวกเห็ดที่อยู่ตอนบน เห็ดบางชนิดมีครีบหมวกด้านในยึดติด หรือไม่ยึดติดกับก้านดอก ด้านนอกเชื่อมติดกับขอบหมวกสองข้างของครีบหมวกเป็นที่เกิดสปอร์ของดอกเห็ด แต่ละชนิดมีจำนวนครีบหมวกแตกต่างกัน และความหนาบางไม่เท่ากัน จำนวนครีบหมวกจึงใช้เป็นลักษณะประกอบการจำแนกเห็ดด้วย สีของครีบหมวกส่วนมากเป็นสีเดียวกับสปอร์ของเห็ด ซึ่งจัดเป็นลักษณะแตกต่างของเห็ดแต่ละชนิดโดยปกติมีสีขาว เหลือง ชมพู ม่วง น้ำตาลและดำ
        เห็ดบางสกุลไม่มีครีบแต่จะมีรู (pore หรือ tube)หรืออาจมีลักษณะคล้ายหนาม(spine) แทนครีบที่จะมีสปอร์อยู่ภายใน บางชนิดสปอร์จะถูกฝังอยู่ในเนื้อเยื่อก้อนวุ้น เช่น เห็ดหูหนู หรือมีสปอร์เกิดอยู่ในเปลือกหุ้มที่เป็นก้อนกลม เช่น เห็ดเผาะ


4.ก้าน (Stalkมีขนาดและความยาวแตกต่างกัน ส่วนมากเป็นรูปทรงกระบอก บางชนิดมีโคน หรือปลายเรียวเล็ก ตอนบนยึดติดกับหมวกเห็ดหรือครีบหมวกด้านใน ตอนล่างของเห็ดบางชนิดอาจมีเส้นใยหยาบรวมกันเป็นก้อนหรือเปลือกหุ้มโคน (volva) ซึ่งมีลักษณะคล้ายถ้วยชาหงายรองรับอยู่ เช่น เปลือกหุ้มโคนในเห็ดฟาง ฯลฯ บนก้านดอกตอนบนของเห็ดบางชนิดมีวงแหวน (ring) หรือเยื่อบาง (ม่าน หรือ annulus) หุ้มอยู่โดยรอบ ก้านดอกเห็ดมีผิวเรียบ ขรุขระ หรือมีขน หรือมีเกล็ด เมื่อถูกสัมผัสด้วยมือหรืออากาศอาจเปลี่ยนสีได้
  ในเห็ดบางชนิดเนื้อเยื่อภายในก้านดอกอาจจะสานกันแน่นทึบ นิ่ม แข็งหรือกรอบ หรือเป็นเส้นหยาบ หรืออาจสานกันเป็นเส้นใยหลวมคล้ายฟองน้ำ บางชนิดอาจมีรูกลวงยาวตลอด หรือเกิดขึ้นเป็นบางส่วน เนื้อเยื่อก้านดอกเห็ดบางชนิดจะมีรสหวานกรอบและแมลงจะเข้าไปอาศัยกินอยู่ภายในจนเป็นรูพรุน และเน่าเสียอยู่ภายในได้ เช่น ก้านดอกเห็ดหล่ม เห็ดร่างแห (Stinkhorn) มีร่างแหสีขาวเป็นรูโปร่งคล้ายลูกไม้ห้อยแขวนลงจากเนื้อเยื่อใต้หมวกเห็ดคลุมอยู่รอบก้านดอก ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษของเห็ดชนิดนี้

5.เปลือกหรือเยื่อหุ้มดอก (Volva)
            เป็นเนื้อเยื่อชั้นนอกสุดที่ห่อหุ้มดอกเห็ดทั้งดอกไว้ในระยะที่เป็นดอกอ่อน ซึ่งมีในเห็ดบางชนิด เช่น เห็ดฟาง และในเห็ดพิษหลายชนิดในสกุล เมื่อดอกเห็ดขยายใหญ่ขึ้นเปลือกหุ้มตอนบนจะแตกออก เพื่อให้หมวกเห็ดและก้านดอกยืดตัวชูสูงขึ้นมาในอากาศ ทิ้งให้เปลือกหุ้มอยู่ที่โคนก้าน มองดูเหมือนก้านดอกเห็ดอยู่ในถ้วย
            เปลือกหุ้มอาจมีเนื้อเยื่อหรือสีคล้ายคลึงหรือแตกต่างกับหมวกเห็ดแต่ส่วนมากมีสีขาวในเห็ดบางชนิดอาจมองเห็นไม่ชัดเจนเหมือนเห็ดฟางเพราะมีเนื้อเยื่อบางกว่า เห็ดบางชนิดในสกุล Amanita ซึ่งอาจจะเป็นเห็ดพิษจึงเป็นการเสี่ยงที่จะเก็บเห็ดตูมมารับประทาน เพราะยังไม่เห็นเปลือกหุ้มชัดเจน

6.แผ่นวงแหวน (Ring)
                เป็นเนื้อเยื่อบางๆ ยึดติดก้านดอกใต้หมวกเห็ดลงมาเล็กน้อยเป็นส่วนของเนื้อเยื่อห่อหุ้มครีบเมื่อดอกเห็ดยังอ่อน  วงแหวนนี้อาจเลื่อนขึ้นลงได้ ไม่ยึดติดกับก้านดอกในเห็ดบางชนิด

7.กลุ่มเส้นใย (Mycelium)
                ก่อนที่จะเป็นดอกเห็ดเราจะเห็นบริเวณนั้นมีเส้นใยราสีขาว หรือ hypha คือเซลล์หลายเซลล์มาต่อกันเป็นเส้นใย แต่หากเส้นใยเหล่านี้ก่อตัวหรือรวมตัวกันเป็นก้อนใหญ่ขึ้น เรียกเส้นใยรวมตัวกันอยู่นี้ว่า กลุ่มเส้นใย เห็ดบางชนิดจะมีเส้นใยรวมตัวเป็นก้อนแข็งอยู่ที่โคนก้านดอกหรือเป็นเส้นหยาบมองเห็นด้วยตาเปล่า แต่บางชนิดมีเส้นใยละเอียดเล็กมาก มองไม่เห็นลักษณะดังกล่าว โดยปกติเส้นใยของเห็ดจะมีสีขาวนวลแทรกซึมอยู่ตามที่มันอาศัยอยู่

 8.สปอร์เห็ด (Spore)
                กลุ่มเซลล์ที่ถูกสร้างขึ้นด้วยอวัยวะที่สร้างสปอร์(Basidia) บริเวณใต้หมวกของดอกเห็ดและใช้ในการขยายพันธุ์ของเห็ดรา เห็ดดอกหนึ่งสามารถสร้างสปอร์ได้จำนวนมากนับล้านๆ สปอร์ มีขนาดเล็กมากมีหน่วยวัดเป็นไมครอนสปอร์จะปลิวหรือลอยไปในอากาศ เมื่อตกอยู่ในที่ที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะสม เช่น มีอาหาร ความชื้น อุณหภูมิ ความเป็นกรด-ด่างที่เห็ดชนิดนั้นต้องการ สปอร์จะงอกออกมาเป็นเส้นใย(hypha)ต่อไป



สารอาหารจากเห็ด 
เห็ดแต่ละชนิดจะมีคุณค่าทางโภชนาการแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดของเห็ด ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะใกล้เคียงกับผักนั่นคือ มีวิตามิน เกลือแร่ โดยโปรตีนในเห็ดจะมีคุณภาพดีกว่าในผัก แต่ก็จัดเป็นโปรตีนพวกที่ไม่สมบูรณ์บางส่วน เมื่อเทียบกับเนื้อสัตว์ ดังนั้น การปรุงอาหารจากเห็ดให้เกิดประโยชน์ ต่อสุขภาพก็ควรมีส่วนผสมของเนื้อสัตว์และผักชนิดอื่นเข้าไปด้วย

คุณค่าทางอาหารของเห็ดและผักบางชนิดใน 100 กรัม










ซีลีเนียม เป็นสารอาหารที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระใกล้เคียงกับวิตามิน ช่วยลดการเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง และโรคสำหรับผู้สูงอายุ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ
โพแทสเซียม เป็นสารอาหารที่ควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ ความสมดุลของน้ำในร่างกาย
การทำงานของกล้ามเนื้อและระบบประสาทต่าง ๆ ในเห็ดจะมีโพแทสเซียมสูง โซเดียมต่ำ   
วิตามิน B รวม ในเห็ดอุดมไปด้วยวิตามินบีรวม
ไรโบฟลาวิน ช่วยบำรุงผิวพรรณและการมองเห็น
ไนอะซิน ช่วยควบคุมการทำงานของระบบย่อยอาหาร และระบบประสาท
    
สรรพคุณของเห็ดแต่ละชนิด

เห็ดหอม
เห็ดหอม
- เห็ดหอม ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด และเพิ่มภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสและมะเร็ง ในเห็ดหอมมี กรดอะมิโนอยู่ถึง 21 ชนิด อุดมด้วยวิตามิน A มีวิตามินบี 1 บี 2 สูงพอๆ กับยีสต์ มีวิตามินดีสูงช่วยบำรุงกระดูกและมีปริมาณโซเดียมต่ำ เหมาะสำหรับผู้เป็นโรคเกี่ยวกับไต นอกจากนี้ยังมีแคลเซียม ฟอสฟอรัส และเหล็ก จึงช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรงและช่วยลดความเป็นกรดในกระเพาะอาหารได้อีกด้วย

เห็ดหูหนู
เห็ดหูหนู






- เห็ดหูหนู เป็นกลุ่มคาร์โบไฮเดรต สามารถเพิ่มความแข็งแรงให้เม็ดเลือดขาวในผู้สูงอายุ ทำให้ภูมิต้านทานของร่างกายดีขึ้นรวมทั้งช่วยรักษาโรคกระเพาะและริดสีดวง ช่วยบำรุงกระเพาะ สมอง หัวใจ ปอด ตับ แพทย์แผนจีนใช้เป็นอาหารบำรุงไตให้แข็งแรง ลดไข้ แก้ไอ กระตุ้นการทำงานของลำไส้ ช่วยบำรุงร่างกาย ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ กระจายโลหิต แก้ร้อนใน กระหายน้ำ ต้มกับน้ำตาลกรวดจิบแก้ไอ
เห็ดหูหนูขาว
เห็ดหูหนูขาว

เห็ดฟาง
เห็ดฟาง
- เห็ดหูหนูขาว ช่วยบำรุงปอดและไต


- เห็ดฟาง วิตามินซี จำนวนมาก(ไม่ควรรับประทานสด)ลดการติดเชื้อ สมานแผล ลักปิดลักเปิด โรคเหงือก ลดอาการผื่นคัน มีสาร volvatioxin ชะลอและยับยั้งเซลล์มะเร็ง บำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง แก้ช้ำใน บำรุงตับ


เห็ดเข็มทอง
เห็ดเข็มทอง
- เห็ดเข็มทอง ถ้ารับประทานเป็นประจำจะช่วยรักษาโรคตับ กระเพาะและลำไส้อักเสบเรื้อรัง ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งที่เยื่อบุช่องท้อง ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน







เห็ดหลินจือ
เห็ดหลินจือ

- เห็ดหลินจือ มีสารสำคัญเบต้ากลูแคน ซึ่งมีคุณสมบัติต้านมะเร็ง คนญี่ปุ่นมักใช้ควบคู่กับการรักษาโรคมะเร็งและโรคผู้สูงอายุ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง โรคความดัน
โลหิตสูง สามารถรักษาโรคในระบบต่าง ๆ ในร่างกายได้ 3 ระบบ
1. ระบบทางเดินอาหารเช่น โรคกระเพาะ ท้องผูก ริดสีดวงทวาร
2. ระบบทางเดินหายใจ เช่น อาการไอ แก้ปอดอักเสบ ภูมิแพ้
3. ระบบการไหลเวียนของเลือด เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ลดคลอเลสเตอรอล
เห็ดสกุลนางรม
เห็ดสกุลนางรม
- เห็ดสกุลนางรม (นางฟ้า เห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดนางรม เห็ดภูฎาน) ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ลดน้ำตาลในเลือด ปรับสภาพความดันโลหิต ลดการอักเสบ ยังยั้งการเจริญเติบโตของเนื้อร้าย


เห็ดกระดุม
เห็ดแชมปิญญอง
- เห็ดกระดุมหรือแชมปิญญอง ช่วยในการย่อยอาหาร ความดันโลหิตสูง และคลายความตื่นตระหนก แม่นมมีน้ำนมมากขึ้น ยังยั้งเซลล์มะเร็ง และการเติบโตของเชื้อแบคทีเรียได้


เห็ดหัวลิง
เห็ดหัวลิง



- เห็ดหัวลิง เพิ่มความสามารถภูมิคุ้มกัน และยับยั้งเซลล์มะเร็ง รักษาโรคแผลเรื้อรัง และอักเสบในกระเพาะ ในลำไส้ส่วนต้น มะเร็งในกระเพาะและในหลอดอาหาร น้ำต้มสกัดการย่อยอาหารดีขึ้น เห็ดหัวลิงแห้งบำบัดอาการอ่อนเพลีย อ่อนล้าที่เกิดจากการวิตกกังวล สาร erinaines E.F และ G กระตุ้นส่วนประกอบของการเติบโตของเซลล์ประสาท




เห็ดยานางิ
เห็ดยานางิ
- เห็ดยานาหงิ ขับปัสสาวะ หดหู่ห่อเหี่ยว ลดหงุดหงิด ม้ามแข็งแรง และหยุดการถ่ายท้อง
เห็ดตีนแรด
เห็ดตีนแรด



- เห็ดตีนแรดหรือเห็ดจั่น ยับยั้งเซลล์มะเร็ง ดูแลระบบการไหลเวียนของโลหิต ลดอาการขับเหงื่อที่มากเกินไปจากการใช้ยา ฟื้นฟูพลังบรรเทาอาการกระเพาะอักเสบ



เห็ดขอนขาว
เห็ดขอนขาว
- เห็ดในกลุ่มเห็ดขอนขาวเห็ดลมหรือเห็ดกระด้าง ยับยั้งการเติบโตเซลล์มะเร็ง กรด eburicoic ที่สามารถใช้สังเคราะห์สารประกอบเสตรียลอยด์ ที่มีบทบาทในการควบคุมร่างกายคนเรา

เห็ดแครง
เห็ดแครง





- เห็ดแครง แก้ระดูขาวหรือตกขาว ยับยั้งอัตราการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง



เห็ดถั่ว
เห็ดถั่ว

- เห็ดถั่วหรือเห็ดหมึก เห็ดขี้ม้า เห็ดโคนน้อย ย่อยอาหารและลดเสมหะ พอกทาบรรเทาอาการปวด ยับยั้งเซลล์มะเร็ง

เห็ดตับเต่า
เห็ดตับเต่า


- เห็ดตับเต่า ทรงกลมสีน้ำตาลดำ แก้ไข้พิษกาฬ แก้ไข้ตักศิลา สีดำ หรือขาวนวล บำรุงร่างกาย กระจายโลหิต บรรเทาอาการปวดชาตามแขนขา ตามกระดูก และเส้นเอ็น อาการระดูขาวหรือมุตกิดได้ หยุดการเติบโตและต่อต้านเนื้อร้าย



เห็ดระโงก
เห็ดระโงก

- เห็ดระโงก หยุดยั้งการเติบโตของเนื้อร้าย

เห็ดขมิ้น
เห็ดขมิ้น

- เห็ดขมิ้น ป้องกันโรคตาอักเสบอย่างรุนแรง บอดยามค่ำคืน ผิวหนังแห้ง ช่วยให้ผิวหนังเปล่งปลั่ง เยื่อบุเมือกในการหลั่งสารต่าง ๆ อย่างปกติ ยับยั้งการติดโรคของทางเดินหายใจ ยับยั้งการเติบโตของเนื้อร้าย






เห็ดหล่ม
เห็ดหล่ม

- เห็ดหล่มหรือเห็ดไคล รักษาโรคตาเพลีย ตาอ่อนล้า ขับความร้อนออกจากตับ กระจายพลังงานส่วนเกิน ระบบการไหลเวียนต่าง ๆ ของสตรี ระวังไม่กินมากจนเกินไป ชาวจีนกินเห็ดนี้ร่วมกับขิง ยับยั้งการเติบโตของเนื้อร้าย
เห็ดแดง
เห็ดแดง


- เห็ดแดง ยับยั้งเนื้อร้าย บรรเทาอาการปวดขา ปวดเอ็นและกระดูก


เห็ดโคน
เห็ดโคน
- เห็ดโคน เห็ดจอมปลวก บำรุงสมอง ช่วยท้องและกระเพาะแข็งแรง จิตใจโปร่งใส รักษาโรคริดสีดวงทวาร บำรุงร่างกาย ทำให้แช่มชื่น กระจายโลหิต

เห็ดกระถินพิมาน
เห็ดกระถินพิมาน

- เห็ดกระถินพิมาน ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ บำบัดอาการปวดหูและเริม งูสวัด ไฟลามทุ่ง ดับพิษฝี แก้อักเสบ แก้พิษกาฬ แก้พิษงู

เห็ดกระโดน
เห็ดกระโดน

- เห็ดกระโดน เห็ดจิก เห็ดตีนตุ๊กแก ต่อต้านมะเร็งได้


เห็ดข่า
เห็ดข่า
- เห็ดข่า แก้สะอึก แก้ปวดหัว แก้ลมจุกเสียด บำรุงธาตุ







เห็ดเผาะ
เห็ดเผาะ
- เห็ดเผาะ เห็ดหนัง หยุดการไหลของเลือด สมานแผล ลดอาการบวม ลดอาการคันนิ้วมือนิ้วเท้า ลดไข้อาการร้อนใน
เห็ดงูเห่า
เห็ดงูเห่า





- เห็ดงูเห่า แก้พิษไข้กาฬ ดับพิษร้อน



เห็ดไผ่
เห็ดไผ่

เห็ดจาวมะพร้าว
เห็ดจาวมะพร้าว




- เห็ดไผ่ ระงับประสาท แก้นอน
ไม่หลับ แก้ร้อนรุ่มกระสับกระส่าย



- เห็ดจาวมะพร้าว บำรุงร่างกาย กระจายโลหิต
เห็ดไม้แดง
เห็ดไม้แดง

- เห็ดไม้แดง แก้ไข้พิษกาฬ แก้พิษฝี ดับพิษร้อน แก้พิษ แก้อักเสบ แก้ไข้รากสาด
เห็ดร่างแห
เห็ดร่างแห

- เห็ดร่างแห เห็ดระย้า แก้ไข้พิษ ถอนพิษกาฬ ฆ่าพยาธิภายนอก ทำยารมให้หมดสติ แก้นอนไม่หลับ เป็นยาพิษ เพิ่มพลังชีวิต พลังความเป็นหนุ่มสาว รักษาอาการอักเสบของลำไส้ตอนล่าง โรคบิด ป้องกันให้อาหารเสียช้าลง ยับยั้งการเติบโตของเนื้อร้าย ดอกแห้งแช่ในแอลกอฮอล์ 70% แก้โรคเชื้อราตามง่ามเท้า

เห็ดถั่งเช่า
เห็ดถั่งเช่า

- เห็ดถั่งเช่า บำรุงร่างกาย แก้อาการอ่อนเพลีย โลหิตจาง แก้ไอละลายเสมหะ หอบหืด ไอเรื้อรัง โรคจู๋และเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เข่าอ่อน เอวอ่อน เหมาะสำหรับบำรุงกำลังหลังการฟื้นไข้ ขยายหลอดเลือด สารสกัดที่เป็นผลึกสีเหลืองอ่อน สามารถยับยั้งแบคทีเรียได้หลายชนิด
                                                                        





เรียบเรียงโดย : บ้านเห็ดรังสิต 4/9/2556
                                                                                   
ที่มา :
     ดำเกิง ป้องพาล.เอกสารประกอบคำบรรยายวิชา พส.413 "การผลิตเห็ด(Mushroom Production). สาขาพืชผัก ภาควิชาพืชสวน คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้.เชียงใหม่ 
     นางสาวยุวศรี ต่ายคำ .เกล็ดความรู้เรื่องเห็ด.สสวท, http://biology.ipst.ac.th/index.php/about-the-year-2555/320-knowledge-about-mushrooms.html
     มูลนิธิหมอชาวบ้าน, เห็ด คุณค่าทางอาหาร,  http://www.doctor.or.th
     ประโยชน์ของการบริโภคเห็ด, www.ist.cmu.ac.th
     สรรพคุณทางยาของเห็ดชนิดต่างๆ, สมุนไพรดอทคอม, http://www.samunpri.com/?p=4762
     ภาพ : บทความอ้างอิง, Internet

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น